Life is short then do what brings happiness to life. Not just me who always smile but I wish you smile too, when reaches my comfort zone.

Search This Blog

Monday, October 15, 2012

ครั้งที่ 2 พรอตเทรต เพิ่งรู้ว่า ถ่ายสัตว์ก็ใช่

15 ตุลาคม 2555...วันนี้เป็นครั้งที่สอง (ก่อนหน้ามีฝีกปฎิบัติการใช้โปรแกรมแต่งภาพแต่โอ้ทไม่ได้ไป เพราะ ไปไม่ทันเนื่องจากเลิกงานเวลาเริ่มพอดี) เป็นรอบการแข่งขันภาพพิมพ์ (ภาพจะแบ่งเป็นพิมพ์ กับ โปรเจคเตอร์ คือถ่ายจากเครื่องฉาย) ในหัวข้อ  " พรอตเทรต แบบไม่โพส ( unposed portrait)" โอ้ทยังไม่ได้ส่งภาพเข้าร่วม เพราะยังไม่เข้าใจขั้นตอนการส่งภาพ และต้องนำเสนอภาพ ติดบนกระดาษอย่างไร ตั้งใจว่าคราวหน้าจะส่ง เพราะวันนี้ถามข้อมูลมาแล้ว

ภาพวันนี้น่าสนใจทุกภาพ แต่มีภาพที่โดดเด่นไม่กี่ภาพ เสียดายถ่ายรูปมาไม่ได้ (อาจจะไม่ห้าม แต่ไม่มีใครหยิบกล้องสักคน ประกอบกับเวลากรรมการพิจารณาให้คะแนนแต่ละภาพ ในห้องต้องปิดไฟด้วย) ภาพที่ได้คัดเลือกเป็นภาพเด่นที่สุดในวันนี้ เป็นภาพหน้าผู้หญิงชรา ที่สื่อ แสดงอารมณ์ทางสีหน้าได้อย่างชัดเจน ถึงความกังวล หรือ ความไม่สบายใจ เป็นภาพที่ดูแล้วรู้ว่า ไม่ได้โพสแน่ๆ

ในบรรดาภาพที่ส่งเข้าประกวดวันนี้ มีภาพสัตว์ด้วย โอ้ทเพิ่งรู้วันนี้ล่ะ (สงสัยมานานแล้ว) ว่าภาพพรอตเทรตรวมถึงสัตว์ด้วยไม่เฉพาะบุคคล และยังรวมถึงภาพที่ไม่ได้ถ่ายเฉพาะหน้า ด้านหน้าด้วยเหมือนกัน  มีภาพหนึ่ง เป็นภาพคนอ่านหน้งสือพิมพ์ แต่ช่างภาพนำเสนอภาพโดยที่คนถือหนังสือพิมพ์ปิดหน้า เห็นแต่มือจับหนังสือพิมพ์สองข้าง และ ผมที่ตั้งเลยพ้นหนังสือ สมาชิก ฉงน กันว่า จัดเป็นภาพพรอตเทรตไหม และมีการยกมือ ทั้งไม่เห็นด้วย และเห็นด้วย ในกลุ่มที่เห็นด้วย รวมทั้งเจ้าหน้าที่ และ กรรมการ ให้เหตุผลว่า เป็นการนำเสนอในลักษณะบุคคลกำลังกระทำ โดยที่ไม่เสนอที่ใบหน้า...เป็นข้อมูลที่น่าสนใจทีเดียว

และมีบางคนตั้งคำถามว่า เป็นภาพที่ไม่โพสจริงเหรอ เพราะดูภาพแล้วเหมือนตั้งใจ สร้างภาพให้เป็นเช่นนั้น

นอกจากนี้ มีภาพมาให้สมาชิก วิจารณ์ กันว่า ภาพดีแล้ว หรือ ควรจะแก้ไข เพิ่ม หรือ ตัด ส่วนไหน ยังไงบ้าง ดูภาพแล้ว รู้ไหมว่า สื่ออะไร  อะไรอยู่ในภาพ มีภาพที่น่าสนใจ คือภาพผู้หญิง โผล่จากดิน หรือ โคลน ทุกคนมองกัน สรุปไม่ได้แน่ ภาพเห็นเฉพาะไหล่ขึ้นไปถึงศีรษะ ด้านขวามีเงา มีความเห็นหลากหลาย ได้ความรู้ดีทีเดียว

1. ตัดเน้นเฉพาะตัวแบบน่าจะดีกว่าไหม ?  เจ้าหน้าที่เอาแผ่นกรอบภาพปิดส่วนที่คิดว่าน่าจะตัดออก...อีมม ก็ดูดีกว่าจริงๆ

2. ตัดเงาออกด้วยดีไหม? บางคนชอบ แต่เสียงส่วนใหญ่ มีเงาดีกว่า

3. ถ้ามีแขนโผล่ขึ้นมาด้วย จะทำให้ภาพสื่อความหมายได้มากขึ้น เพราะทุกคนมองภาพแล้ว ไม่รู้ว่า จะโผล่ หรือ จะจม

4. บอกไม่ได้อีกว่า จุดที่ผู้หญิงโผล่มาเป็นทราย เป็นหิน หรืออะไรแน่ๆ

สรุปว่า ภาพสวย องค์ประกอบดี แสงดี แต่สื่อไม่ชัดเจน ...

Monday, October 1, 2012

บทเรียนครั้งที่ 1 จากกลุ่มช่างภาพ รุ่นเก๋า

ข้อท้าวความเล็กน้อย รู้จักสังคมกลุ่มนี้จากสมาชิกเต้นโฟล์ค โดยไม่รีรอ คิดมากวันจันทร์ที่ 24 กันยายน 2555 ที่ผ่านมา ไปติดต่อ สอบถาม และ ได้ร่วมฟัง-ดูภาพ กิจกรรมวันนั้น เป็นการแสดงภาพประกวดของสมาชิก และให้คะแนนตัดสินกันวันนั้น และ วันจันทร์นี่ วันนี้ล่ะ 1 ตุลาคม 2555 เป็นวันเริ่มต้นปีของกลุ่มนี้ สำหรับโอ้ทเป็นเรื่องใหม่ ที่น่าสนใจ ในเวลาหนึ่งชั่วโมง แม้จะเก็บมาได้เพียงเล็กน้อย แต่ชอบที่ได้เห็นภาพตัวอย่างที่ผู้บรรยายนำมาให้ดูกัน

วันนี้ผู้บรรยาย พูดถึงภาพสมัยเริ่มต้นของการถ่ายภาพ สมัยฟิล์มขาว-ดำ ภาพตัวอย่างขาว-ดำทั้งหมด สิ่งที่โอ้ทเก็บมาได้เพียงน้อยนิด เนื่องด้วย ภาษาประกิตไม่แข็งแรง รายละเอียดข้อมูลอื่นๆ ค่อยเก็บเกี่ยวทีละน้อย เพราะยังมีเวลาอีกนาน หมดปีนี้ ต่อไปต่อไป

ได้อะไรมาบ้างล่ะ เล็กๆ น้อย ที่เก็บมา

1. ภาพขาว-ดำ ในความรู้สีก และแนวการถ่ายที่ผู้บรรยายถนัด และจะทำตลอดไป ผู้บรรยายบอกว่า ภาพขาว-ดำ จะนำเสนอรายละเอียดของภาพ เรื่องราวในภาพ ได้ชัดเจน

2. แสง-เงา  รูปทรง ลวดลาย (แพทเทิร์น) เส้น ช่วยในการเสนอเรื่องราวในภาพได้มาก

3. การหยุดเวลา (สปีดชัตเตอร์ที่เหมาะสม) ช่วยให้ภาพมีเรื่องราวในภาพเอง ทั้งนี้ทั้งนั้นอยู่ที่ความคิด วางแผนของผู้ถ่ายภาพที่เตรียมการไว้แล้ว ออกแบบภาพไว้แล้ว ว่าต้องการให้ภาพออกมาอย่างไร และใช้เวลา  รอจังหวะ ถึงช่วงที่เหมาะสม แล้วถ่ายภาพนั้นๆ

ตัวอย่างภาพที่นำเสนอน่าสนใจมากทีเดียว เป็นภาพถ่ายจากระเบียงด้านบน มองลงมาเห็นราวบันได และ ขั้นบันได วน ในขณะที่มีคนขี่จักรยานด้วยความเร็วผ่านมา จับภาพการเคลื่อนไหวของจักรยานได้ตรงพื้นที่วาง มุมซ้าย เยื้องกับแนวบันได ไม่ตัดกัน แต่ก่อนที่จะถึงของตีก ผู้บรรยายกล่าวว่า แม้ภาพโฟกัสจะไมได้ เพราะยังเห็นการเคลื่อนไหวของจักรยาน และ ในภาพนี้เรื่องราวบอกอะไรได้หลายอย่างทีเดียว

4. ความสมดุลของภาพ ข้อนี้อธิบายให้เข้าใจได้ยาก เพราะโอ้ทเองก็ใหม่ เพิ่งเห็นภาพตัวอย่างหลายๆ ภาพวันนี้ ทำให้เข้าใจได้มากขึ้น เอาเป็นว่า ในภาพของเรา สองฝั่งต้องสมดุลกัน ไม่หนักไปด้านใดด้านหนึ่ง เช่นภาพตัวอย่างภาพหนึ่ง บนถนน มีหญิงสาวยืนอยู่เยื้องไปฝั่งซ้ายของภาพ เกือบกลาง ในขณะที่ เยื้องไปด้านขวา ตำแหน่งชิดขอบหน้ามากกว่าหญิงสาว (ไม่ได้อยู่ระนาบเดียวกัน) มีจักรยานวางอยู่หนึ่งคัน และ พื้นด้านหลังเป็นตีก

อีกภาพหนึ่ง เป็นภาพที่น่าสนใจมาก ภาพคนกำลังทำท่าเดินลงไปในน้ำซึ่งอยู่ในตำแหน่งเยื้องมาทางด้านขวา ในขณะที่พื้นด้านหล้ง (ในภาพถ้าไม่สังเกตมองแทบไม่เห็น แต่นั้นเป็นส่วนที่ทำภาพให้สมดุล) มีเงาของนักเต้น กำลัง เขย่งก้าวขาไปฝั่งซ้ายของภาพ

5. การวางสิ่งต่างๆในเฟรม เฟรมแรกคือ กรอบภาพที่เราจะถ่ายนั่นเอง ไม่ใช่สร้างกรอบให้ภาพ คือเราจะจัดวางอะไรไว้ในภาพเราบ้าง

เฟรมที่สอง คือสร้างกรอบในภาพ ที่ส่วนมากรู้กันอยู่แล้ว เช่นถ่ายวัตถุ คน หรือ สิ่งต่างๆ อยู่ตรงกลางช่อง หรืออะไรทั้งหลายที่เห็นว่าเป็นกรอบ แต่วันนี้โอ้ทได้กรอบที่ไม่ใช้เส้น แต่เป็นสิ่งรอบๆๆ ไม่ว่าจะเป็นคน ต้นไม้ ตีก สามารถจัดให้เป็นกรอบได้ อยู่ที่การสร้างภาพของผู้ถ่ายภาพ ต้องการให้ภาพออกมาอย่างไร และ จะสร้างกรอบจากสิ่งรอบๆ อย่างไร ภาพตัวอย่างเป็นภาพหนุ่มสาวกำลังจูบกันฉลองวันดีๆ ของทั้งคู่ ท่ามกลาง ผู้คนที่เดินอยู่บริเวณนั้น (ในภาพหนุ่มสาวอยู่กลางภาพ ด้านหน้าไม่มีอะไร สองข้าง มีผู้คน เดินอยู่ )

6. ผู้บรรยายให้ความเห็นภาพสีทำลายรายละเอียดของภาพ แต่สมาชิกหลายท่านให้ความเห็นว่า ในยุคดิจิตอลภาพสีทำให้ภาพดูสดใส น่าสนใจมากขึ้น แต่ในเวลาเดียวกัน บางภาพก็เหมาะที่จะเป็นภาพขาว-ดำ ฉะนั้นจะภาพขาว-ดำ หรือ ภาพสี ผู้ถ่ายภาพจะต้องรู้เอง (ออกแบบไว้แล้ว) ว่าภาพไหนที่เป็นขาว-ดำ นำเสนอเรื่องราวได้ดีกว่า ภาพไหนที่เป็นสีนำเสนอเรื่องราวได้ดีกว่า ไม่มีถูกหรือผิด


ปล.หากภาษาประกิตโอ้ทแข็งแรงกว่านี้ คงได้ความรู้มากกว่านี้ ยังมีเวลาอีกนาน ค่อยๆ เก็บทีละน้อยเน่อะ เสียดายที่ไม่มีภาพประกอบ เพราะทุกคนไม่มีใครถ่ายกันเลย ต้องเคารพส่วนรวม