Life is short then do what brings happiness to life. Not just me who always smile but I wish you smile too, when reaches my comfort zone.

Search This Blog

Tuesday, June 14, 2011

คอมแพคละลายหลัง

ที่มาของข้อมูล

อุปกรณ์
Canon A495 (กล้องของคนถ่ายภาพชุดนี้ เราใช้กล้องของเราจ้า)
-ไม่ปรับสี ไม่ตัดภาพ(Crop) ย่อและusmเท่านั้น


  • USM = UltraSonic Motors ช่วยการโฟกัสให้ดีขึ้น (ความหมายคร่าวๆๆจ่ะ ถ้าสนใจรายละเอียด เสริจหาเพิ่มเติมตามสะดวกเลยนะ) ไม่ได้มีทุกตัว แล้วแต่เลนส์




  • คอมแพคน้อยๆ ของผมมีขนาดเซ็นเซอร์ที่เล็ก ดังนั้นการที่จะถ่ายภาพให้มีหลังละลายนั้น
    ก็จะต้องขึ้นอยู่กับ 1)การเลือกถ่ายฉากหลัง 2)ระยะห่างจากตัวแบบกับฉากหลัง และ3)ระยะห่างกล้องกับตัวแบบ




  • วิธีการได้ภาพของผม
    ภาพที่1และ2










  • 1)เลือกแบบ ...(ให้คิดถึงเรื่องสี)
    2)เลือกฉากหลัง ให้ฉากหลังเป็นสีโทนเดียวกัน และห่างจากแบบตั้งแต่ 30-50 ซม.ขึ้นไป แต่อย่าให้เกิน 1 เมตร
    3)ตั้งกล้องห่างจากแบบ 30-50 ซม. (มีขาตั้ง)
    4)ซูมกล้อง ให้ได้ค่ารูรับแสงที่ดีที่สุด ที่ไม่ทำให้ตัวแบบเกิดอาการแบนไปกับฉากหลังจนเกินไป ...กล้องผมทำได้แค่ F5.8 ครับ (การถ่ายให้ภาพเกิดมิติ แบบชัดลึก คือ ใช้ค่ารูรับแสงระดับกลางๆ...ว่าแต่มันกลางเท่าไหร่อ่ะ >"<)
    5)ปรับ ISO 100
    6)วัดแสงแบบ Spot เพราะตัวแบบของผมมันโทนสีทึบ ออกโทนดำ...ที่เลือกSpot เพราะกล้องจะช่วยเพิ่มความสว่างให้กับตัวแบบ จุดที่เราโฟกัส
    7)WB Auto
    8)ชดเชยแสง ลางลบ...(-1EV)...เพื่อเสริมให้ฉากหลังดูเขียวครึ้มๆ
    9)ผมไม่เปิดโหมด มาโคร

    เมื่อทุกอย่างลงตัว ก็ถ่ายภาพได้ครับ ^_^




    • สำหรับภาพที่3


    • ผมเลือกถ่ายโดยหมุนหามุม ที่มีฉากหลังมีความต่างของสี...
      โดยสีเขียวที่เห็นทึบๆ นั้นคือใบมะม่วง และ เขียวอ่อนๆ คือ ใบหญ้า ครับ
      ทำให้ภาพ3 ดูไม่น่าสนใจ ...เนื่องจาก ฉากหลังรก มองแล้วไม่เพลินตา T_T

      และที่สำคัญอีกอย่าง คือ ไม่ควรซูมกล้อง มากเกินไป เพราะจะทำให้เสียแสง และเม็ดเกรนจุดๆ ก็จะตามมา (เฉพาะ คอมแพคระดับล่าง เท่านั้น)

    No comments:

    Post a Comment