ติ๋งต่างว่าเพื่อนๆ รู้จัก สนิทสนมกับกล้องตัวเองแล้วน่ะ ว่าปุ่มต่างๆๆ ทำอะไรบ้าง คราวนี้ขอแนะนำ เจ้า 3 ก๊ก ที่เป็นหัวหลักของการถ่ายภาพ (ข้อมูลจากที่อ่านๆๆๆ และ ใช้อยู่ทุกวัน ไม่พ้นไปจาก 3 ก๊ก ที่ต้องปรับ) นั่นคือ ISO (ไอเอสโอ) appeture (แอพเพเจอร์) คนถ่ายรูปเรียกกันติดปากว่าค่า F (เอฟ) หรือที่เรียกกันบ้านๆๆ รูรับแสง นั่นเอง ...และ speed shutter (สปีดชัตเตอร์)
- ISO มีประโยชน์อย่างไรล่ะ? นั่นซิ ถ้าไม่อ่านก็ไม่รู้ ฮ่าฮ่า
เจ้า ISO ช่วยทำให้ภาพสว่างขึ้น ยิ่งปรับเลขมาก ก็ยิ่งสว่างมาก แต่ผลที่ตามมา และไม่เป็นปลื้มของคนถ่ายรูป คือจะมีจุด เม็ดเล็กๆๆๆ อยู่ทั่วทั้งภาพ ภาษาในวงการเรียกเจ้าจุดนี้ว่า noise (น้อยส์) อย่าถามว่าทำไม เพราะโอ้ทก็ไม่รู้ เขาเรียกแบบนี้ก็เรียกตามเขาไป รู้ไว้จะได้ไม่เชย...:-)
แล้วเราจะปรับไว้แค่ไหนดีล่ะ? ถ้าแสงแดดปกติ ไม่ครึ้มก็ปรับไว้ 100 หรือ ถ้ากล้องใครมีค่าต่ำสุดมากกว่า 100 ให้ปรับที่ค่าต่ำสุด แต่กล้องใครไม่มี ปรับไม่ได้ก็ไม่ต้องไปสนใจ อยู่เฉยๆๆ ดีแล้วจ้า ส่วนมากถ้าเป็นกล้อง DSLR ระดับดี ปรับค่าสูงในที่แสงน้อย เช่นในอาคาร เพราะไม่ต้องการใช้แฟลช จะปรับค่า ISO นี่ละช่วยให้ภาพสว่าง ปัจจุบัน มีโปรแกรมแต่งภาพ สามารถลด น้อยส์ ได้ด้วย จะทำให้ภาพเนียนขึ้น ที่บอกว่าไม่ต้องการใช้แฟลชเพราะจากที่อ่านมา (อีก) ภาพที่ถ่ายด้วยแสงธรรมชาติจะดูสวยกว่าใช้แฟลช แต่รายละเอียดการใช้แฟลช โอ้ทยังไม่มีความรู้เพราะยังไม่เคยหาแบบลึกๆๆ เราก็รู้แค่ว่าถ้าไม่จำเป็นเลี่ยงการใช้แฟลชดีกว่า หาแสงธรรมชาติ ภาพจะนุ่มกว่า แต่ถ้าต้องใช้แฟลชให้ปรับระดับที่เหมาะสมกับระยะห่างของภาพ...เอาไว้ตรงนี้พอ แล้วค่อยเล่าเรื่องแฟลชอีกที
- รูรับแสง F หรือ แอพเพเจอร์ เอาไว้รับแสงไง ง่ายๆๆ ...:-) แล้วจะรู้ได้ยังไงว่าปรับที่เท่าไรดี? ก็ต้องดูโดการวัดแสง ที่เหมาะสมด้วยตาของเราผ่านจอกล้อง ถ้ากล้องมีช่องเล็ก ภาษาวงการเรียก วิวฟายเดอร์ (view finder) โอ้ทจะมองช่องนี้มากกว่าช่อง LCD เพราะรู้สึกว่าเห็นภาพเหมือนจริงมากกว่า อีกอย่าง ถ้าในช่วงแสงแดดจัด เราจะมอง LCD ไม่เห็นเลย แต่ถ้ากล้องใครไม่มี ซึ่งคอมแพคส่วนมากไม่มี่ช่องวิวฟายเดอร์ก็ต้องหาทางมองจอ LCD ให้เห็น ไม่เช่นนั้นวัดแสงลำบาก
ปรับเลขน้อย รูจะใหญ่ กว้าง แสงก็จะเข้ามาได้มาก ปรับเลขมาก รูจะแคบ เล็ก แสงก็จะเข้ามาได้น้อย รู้ไว้ไม่ต้องท่องจำ เพราะถ้ากล้องใครมีปรับหมุนบ่อยๆๆ จะจำได้เองว่าด้านไหนแสงเข้าน้อย ด้านไหนแสงเข้ามาก และจะจำตัวเลขมาก หรือ น้อยได้อัตโนมัติ เพราะได้กับตัวเอง ตอนท่องใหม่ๆๆ มีนถ่ายบ่อยๆๆ ปรับทุกครั้ง รู้เอง
- speed shutter สปีดชัตเตอร์ นี่ก็ง่ายอีก ก็ความเร็วชัตเตอร์ไง อยากได้เร็วมากก็ปรับไปเลขมาก อยากได้เร็วน้อยก็ปรับไปเลขน้อย น่าจะจบ แต่ว่าไม่จบ...แล้วยังไงล่ะ ?
สปีดชัตเตอร์ ข้อแรกใช้เพื่อหยุดการเคลื่อนไหวของวัตถุ หยุดการเคลื่อนไหวคือ ถ่ายออกมาแล้วไม่เป็นสาย หรือที่เราเรียกกันว่าวิญญาณน่ะ เช่นถ่ายเด็กกำลังวิ่ง ถ้าไม่ปรับให้สูงในระดับที่หยุดความเคลื่อนไหวได้ ก็จะเห็นเด็กไม่ชัด เพราะกำลังวิ่งจะออกมาเป็นสาย หรือ ถ่ายรถในขณะที่เรานั่งอยู่ในรถ เพื่อนๆๆคงมีประสบการณ์นี้มาทุกคน จะเห็นว่ามีสายเส้นๆๆในภาพ นั่้นเพราะรถกำลังวิ่ง...พอเข้าใจไหมน๊า? แต่ถ้าถ่ายแบบนิ่ง ไม่ต้องปรับสูง ปรับให้ได้ตามที่มือเราถือได้ โอ้ทจะปรับที่ 1/60-1/80 (ตัวเลขคืออะไรไว้หาข้อมูลมาบอกอีกทีถ้าอยากรู้ เพราะไม่รู้ละเอียด รู้แต่ว่าตัวเลขหลังคือ กี่วินาทีที่ชัตเตอร์จะทำงาน ยิ่งตัวเลขสูงยิ่งเร็ว)
ผลที่ตามมา ตัวเลขน้อย สปีดชัตเตอร์จะช้า เปรียบเสมือนกระพริบตาช้าๆๆ ทำให้แสงเข้ามาได้มาก แต่ตรงกันข้ามตัวเลขมาก เปรียบเสมือนกระพริบตาอย่างรวดเร็ว ทำให้แสงเข้ามาได้น้อย เพราะปิดเร็วแสงผ่านได้แว่บเดียว ภาพจะมืด
ต่อไป จะเล่าว่า 3 ก๊ก เขาเป็นกิ๊กกัน อย่างไรจ่ะ เพื่อนๆ ไปดูซิว่ากล้องตัวเองมี ครบทั้ง 3 หรือ มีบางตัว
No comments:
Post a Comment